เมนู

คาถาธรรมบท



ธัมมัฏฐวรรคที่ 19

1

ว่าด้วยอรรถกถาคดีที่ชอบธรรมของนักปราชญ์



[29] 1. บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม เพราะเหตุที่
นำคดีไปโดยความผลุนผลัน ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต
วินิจฉัยคดีและไม่ใช่คดีทั้งสอง ย่อมนำบุคคลเหล่า
อื่นรูปโดยความละเอียดลออ โดยธรรมสม่ำเสมอ
ผู้นั้นอันธรรมคุ้มครองแล้ว เป็นผู้มีปัญญา เรากล่าว
ว่าตั้งอยู่ในธรรม.

2. บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุเพียง
พูดมาก (ส่วน) ผู้มีความเกษม ไม่มีเวร ไม่มีภัย
เรากล่าวว่า เป็นบัณฑิต.

3. บุคคลไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูด
มาก ส่วนบุคคลใด ฟังแม้นิดหน่อย ย่อมเห็นธรรม
ด้วยนามกาย บุคคลใดไม่ประมาทธรรม บุคคลนั้น
แลเป็นผู้ทรงธรรม.

4. บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพราะมีผมหงอก
บนศีรษะ ผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้น เราเรียกว่า แก่เปล่า
(ส่วน) ผู้ใดมีสัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และ
ทมะ ผู้นั้นแล ผู้มีมลทินอันคายแล้ว ผู้มีปัญญา
เรากล่าวว่า เป็นเถระ.

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 10 เรื่อง.

5. นระผู้มีความริษยา มีความตระหนี่ โอ้อวด
จะชื่อว่าคนดี เพราะเหตุสักว่าทำการพูดจัดจ้าน หรือ
เพราะมีผิวกายงามก็หาไม่ ส่วนผู้ใดตัดโทสชาต มี
ความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด ถอนขนให้รากขาด ผู้นั้น
มีโทสะอันคายแล้ว มีปัญญา เราเรียกว่า คนดี.

6. ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ ไม่ชื่อว่าสมณะ
เพราะศีรษะโล้น ผู้ประกอบด้วยความอยากและความ
โลภจะเป็นสมณะอย่างไรได้ ส่วนผู้ใดยังบาปน้อย
หรือใหญ่ ให้สงบโดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเรากล่าวว่า
เป็นสมณะ เพราะยังบาปให้สงบแล้ว.

7. บุคคลชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเหตุที่ขอกะคน
พวกอื่นหามิได้ บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ ไม่
ชื่อว่าเป็นภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ผู้ใดในศาสนานี้
ลอยบุญและบาปแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ ในโลก
ด้วยการพิจารณาเที่ยวไป ผู้นั้นแล เราเรียกว่า ภิกษุ.

8. บุคคลเขลา ไม่รู้โดยปกติ ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี
เพราะความเป็นผู้นิ่ง ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตถือธรรม
อันประเสริฐ ดุจบุคคลประคองตาชั่ง เว้นบาปทั้ง-
หลาย ผู้นั้นเป็นมุนี เพราะเหตุนั้น ผู้ใดรู้อรรถทั้งสอง
ในโลก ผู้นั้นเรากล่าวว่า เป็นมุนี เพราะเหตุนั้น.

9. บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นอริยะ เพราะเหตุที่เบียด-
เบียนสัตว์ บุคคลที่กล่าวว่า เป็นอริยะ เพราะไม่
เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง.

10. ภิกษุ ภิกษุยังไม่ถึงอาสวักขัย อย่าเพิ่งถึง
ความวางใจ ด้วยเหตุสักว่าศีลและวัตร ด้วยความ
เป็นพหูสูต ด้วยอันได้สมาธิ ด้วยอันนอนในที่สงัด
หรือ (ด้วยเหตุเพียงรู้ว่า) เราถูกต้องสุขในเนกขัมมะ
ซึ่งปุถุชนเสพไม่ได้แล้ว.

จบธัมมัฏฐวรรคที่ 19

19. ธัมมัฏฐวรรควรรณนา



1. เรื่องมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย [194]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภมหาอำมาตย์
ผู้วินิจฉัย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ"
เป็นต้น.

พวกภิกษุเห็นมหาอำมาตย์รับสินบน


ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกภิกษุเที่ยวบิณฑบาตในบ้านใกล้
ประตูด้านทิศอุดร แห่งนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตแล้วมาสู่วิหารโดย
ท่ามกลางพระนคร. ขณะนั้น เมฆใหญ่ตั้งขึ้นยังฝนให้ตกแล้ว. ภิกษุ
เหล่านั้น เข้าไปสู่ศาลาที่ทำการวินิจฉัยอันตั้งอยู่ตรงหน้า เห็นพวก
มหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัยรับสินบนแล้ว ทำเจ้าของไม่ให้เป็นเจ้าของ จึงคิด
ว่า " โอ ! มหาอำมาตย์เหล่านี้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม, แต่พวกเราได้มีความ
สำคัญว่า ' มหาอำมาตย์เหล่านี้ทำการวินิจฉัยโดยธรรม," เมื่อฝนหาย
ขาดแล้ว, มาถึงวิหาร ถวายบังคมพระศาสดานั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่งแล้ว
กราบทูลความนั้น.

ลักษณะบุคคลผู้ตั้งอยู่และไม่ตั้งอยู่ในธรรม


พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกอำมาตย์ผู้วินิจฉัย เป็นผู้
ตกอยู่ในอำนาจอคติมีฉันทาคติเป็นต้น ตัดสินความโดยผลุนผลัน ไม่ชื่อว่า
เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม, ส่วนพวกที่ไต่สวนความผิดแล้ว ตัดสินความโดย
ละเอียดลออ ตามสมควรแก่ความผิดนั่นแหละ เป็นผู้ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม"
ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-